ระวัง!! ด้วงหนวดยาวอ้อย ในอ้อย จะทำความเสียหาย

[ สถิติผู้เข้าชม : 208 ครั้ง ]    แชร์เรื่องราวความรู้

รับข้อมูลข่าวสารความรู้ด้านการเกษตรทางระบบไลน์ ทุกวันฟรี

เพิ่มเพื่อน





แนวทางป้องกัน/แก้ไข
1. อ้อยปลูกใหม่

ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ได้แก่

1. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีกล
– ไถพรวนดินแล้วเก็บตัวหนอนของ
ด้วงหนวดยาวอ้อยตามรอยไถ ก่อนปลูกอ้อย

 

 


2. การป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ
– โรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์พร้อมปลูกแล้วกลบดิน

 

 


3. การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
ในพื้นที่ที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
การใช้สารเคมีชนิดน้ำ
– พ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน
การใช้สารเคมีชนิดเม็ด
– โรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 0.3% G อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน
2. ระยะอ้อยแตกกอ
ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ได้แก่
1. การป้องกันกำจัดด้วยวิธีกล
– ถ้าพบหน่ออ้อยแห้งตาย ให้ขุดกออ้อยและจับตัวหนอนหนวดยาวอ้อย ออกมาทำลายนอกแปลง
2. การป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ
– เปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน


3. การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
ในพื้นที่ที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี
การใช้สารเคมีชนิดน้ำ
– เปิดร่องอ้อยแล้วพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน
การใช้สารเคมีชนิดเม็ด
– เปิดร่องอ้อยแล้วโรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 0.3% G อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน
หมายเหตุ
– กรณีการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม และสารเคมี ขณะใช้ดินต้องมีความชื้น หรือเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้

 

 

Create : Modify : 0000-00-00 00:00:00Read : 207URL :